ภาษาธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 1 ความคิดเห็น
พุทธวัจนะภาษา คือ ภาษามคธ มิใช่ภาษาของชาวมคธ แต่เป็นภาษาดั้งเดิมของปวงสัตว์ ที่สื่อสารกันได้ทั้งหมด ไม่มีแบ่งแยก ทั้งคน, สัตว์, เทพ, ผี ฯลฯ ล้วนสื่อสารกันได้ด้วยภาษานี้ ไม่มีตัวอักษร กำ้เนิดก่อนเทพอักษรจะประดิษฐ์ตัวอักษรใดๆ เป็น "ภาษาจิต" เป็นภาษากลาง, เป็นภาษาสากล ที่ทุกสรรพชีวิต เข้าใจเท่าเทียมกัน หลังความเสื่อมเกิดขึ้นบนโลกแล้ว สรรพชีวิตไม่อาจเข้าใจกันได้ เทพอักษรจึงลงมา สร้าง "ตัวอักษร" ขึ้นภายหลัง แต่พราหมณ์ได้บันทึกประวัติไว้ ทำให้ กษัตริย์แคว้นมคธใช้คำว่า ภาษามคธกับอักษรของตน แต่นั่น หาใช่ "ภาษามคธ" (ภาษาจิต) แต่ดั้งเดิมไม่ อนึ่ง พระพุทธองค์ทรงใช้ "ภาษามคธ" นี้ จึงสื่อสารกับคน, สัตว์, เทพ, ผี ฯลฯ ได้ทั้งหมด ทว่า เพราะมนุษย์โลกเสื่อมลงไปมากแล้ว ท่านจึงยังจำเป็นต้องใช้ "ภาษาที่เกิดจากเทพอักษร" มีตัวอักษร, เสียง, รูป ปรุงแต่ง เพื่อสื่อสารไปเช่นนั้นเอง ดังนั้น ภาษา, ถ้อยคำ, เสียง ฯลฯ ทั้งหลาย ล้วนไม่มีสาระ หากไม่เข้าถึงภาษามคธนี้ (ภาษาจิต) ในทางเซนเรียกภาษานี้ว่า "จิตสู่จิต" คือ การสื่อสารจากจิตถึงจิตโดยตรงเหนือกว่าคำพูดใดๆ อนึ่ง บุคคลจะบรรลุธรรมได้ด้วย "ภาษามคธ" นี้เท่านั้น หาไม่แล้ว ย่อมหลงกล ติดบ่วงแห่งเทพอักษร หลงตัวอักษรและภาษาต่างๆ มิอาจเข้าถึงธรรมได้อย่างแท้จริง (ด้วยอักษรภาษามีขีดจำกัดในการอธิบายธรรม) ดังนี้ จึงมีคำกล่าวว่า "ธรรมะที่อธิบายได้ ไม่ใช่ธรรมแท้" แต่กระนั้นการอธิบายก็ยังจำเป็น เพื่ออยู่ร่วมกับมนุษย์ที่ มีจิตใจหยาบ เสื่อมลง ไม่อาจเข้าใจในภาษามคธได้ แต่มิใช่เพื่อการบรรลุธรรมที่แท้จริงเลย ...



1 ความคิดเห็น:

  • Unknown กล่าวว่า...

    ธรรมใด อธิบายได้ ย่อมเป็นเพียง "สมมุติธรรม"
    ธรรมที่พ้นแล้วซึ่งสมมุติใดๆ ย่อมไม่อาจอธิบายได้

    ...

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB