จริมจิต

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
จริมจิต


เมื่อสัตว์ตายลง ขันธ์ห้าดับสลายคืนธาตุต่างๆ สู่ธรรมชาติดังเดิม ร่างกายสังขารก็เน่าสลาย กลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม (ก๊าซ) เป็นไฟ (ความร้อน) ไป ทว่า สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ได้จบลงไปด้วยคือ "จิต" จิตเท่านั้นที่ไปจุติต่อไป เรียกว่า "จุติจิต" จิตไม่ได้แบกเอาขันธ์ทั้งห้าไปด้วยอยู่แล้ว ดังนั้น ขันธ์ห้าจึงเป็นธรรมะ เป็นอนิจจังในตัว เราไม่ต้องไปพยายามทำลายขันธ์ห้า หรือดับขันธ์อะไรเลย เพราะมันไม่เที่ยงอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ที่เราควรพิจารณาคือ "จิต" (มโนธาตุ) ต่างหาก ทีนี้ จิตนั้นเวลาเราเรียกว่า จิตประภัสสรคือ เรียกตามลักษณะที่จิตบริสุทธิ์ผ่องใสอยู่แล้ว เพียงแค่ยังไม่ตื่นแจ้งสว่างไสวด้วยปัญญาเท่านั้น ส่วนคำว่า จริมจิต หมายถึง จิตที่กำลังจะนิพพาน เป็นจิตที่ต่างจากจุติจิต คือ ไม่มีการเคลื่อนไปสู่ภพหน้าและไม่ยึดมั่นในภพเดิม ในขณะที่จุติจิตนั้น หมายถึง จิตที่เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่ภพหนึ่ง ทั้งนี้ การทำขันธปรินิพพาน นั้นคือ อาการที่วิญญาณขันธ์ดับสลายโดยรอบ เกิดไำด้ขณะบำเพ็ญยิ่งยวด เช่น ตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะตายลง แล้วเกิดเป็นพระสมณโคดมนั้น (ตรัสรู้) เรียกว่า "ขันธปริินิพพาน" เป็นเรื่องของขันธ์ ไม่ใช่เรื่องของจิต ขันธปรินิำำำพพานจึงไม่เกี่ยวกับการหลุดพ้นจากวัฏฏะ เป็นแค่ัขันธ์ที่นิพพานไป เผยให้เห็นสัจธรรมความจริงแท้ จึงตรัสรู้ได้ เท่านั้นเอง การหลุดพ้นจากวัฏฏะเป็นเรื่องของจิต ไม่ใช่เรื่องของขันธ์ (เพราะขันธ์ไม่ได้ไปเวียนว่ายตายเกิดด้วย) คือ จิตนั้นต้องมีลักษณะเป็นจริมจิต ไม่ใช่ "จุติจิต"


หลายท่านเข้าใจผิดมากว่าวิญญาณคือจิต คือ ตัวเดียวกัน ถามว่า "ถ้าวิญญาณเป็นตัวเดียวกับจิตจริงๆ แล้ว เวลาเราตาย จิตไปเกิดต่อ ก็หมายความว่าวิญญาณคือตัวไปเกิดน่ะสิ?" ตรงนี้แหละ มันเพี้ยนไปจากคำสอนเดิม ตามกระแสลัทธิอาตมันที่สอนว่า "อาตมันแท้ที่เป็นเราคือวิญญาณ" แล้วสอนว่าวิญญาณไปเวียนว่ายตายเกิด ทั้งๆ ที่จริงแล้ว วิญญาณและขันธ์ห้า ดับสลายไม่เที่ยงในตัว มีแต่จิตเท่านั้นที่ไปเกิด ดังนั้น จิตกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน หากเข้าใจว่าเป็นอย่างเดียวกัน ก็จะเข้าใจว่าวิญญาณไปเวียนว่ายตายเกิดได้ ซึ่งพระสมณโคดมเคยเรียกพระสาวกที่สอนแบบนี้มาตำหนิแล้วว่า "สอนผิด"



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB